วันขึ้นปีใหม่2019
ความหมายของวันสิ้นปี
วันปีใหม่ส่งท้ายปีเก่า เป็นวันเริ่มนับ 1 ใหม่ในปีพุทธศักราช และคริสตศักราช ตรงกัยวันที่ 1 มกราคม ของทุกๆ ปีโดยยึดวันขึ้นปีใหม่ตาม ปฏิทินเกรโกเรียน ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้แพร่หลายในประเทศตะวันตก มีระยะเวลา 1 ปียาวนาน 365.25 วัน
ความสำคัญของปีใหม่
เวลาการนับ 1 ปีคือเวลาที่ขั้วโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ (365 วัน) นับได้เป็น 12 เดือนตามปฏิทินสุริยคติ จึงทำให้ปีใหม่คือช่วงเวลาของการขึ้นรอบใหม่หลังจากครบ 365 วันหรือ 12 เดือนนั่นเอง
ความเป็นมา
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
เพลงวันขึ้นปีใหม่
เพลงที่ใช้เปิดฟังในวันขึ้นปีใหม่มีความสำคัญมาก เพราะแสดงถึงขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ไปจนถึงวัยของผู้ฟัง ในประเทศไทยเราแบ่งเพลงที่เปิดวันขึ้นปีใหม่ได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มเพลงไทยดนตรีผ่อนคลายช้าๆ และกลุ่มดนตรีสำหรับวัยรุ่นเน้นการเต้นสนุกสนาน
วันปีใหม่ไทย
สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยสมัยก่อน เราถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย(๑) เป็นวันขึ้นปีใหม่
ต่อมาได้ใช้วันขึ้น ๑ ค่ำเดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์เป็นวันขึ้นปีใหม่ และในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา
ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งเป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วันปีใหม่นานาชาติ
ในสมัยโบราณของแต่ละชาติต่างก็มีวันขึ้นปีใหม่ที่ไม่ตรงกัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่
ในปลายเดือนพฤศจิกายน ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น
วันที่ 1 มกราคมชาวโรมัน ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่านเคยจัดงานปีใหม่ วันที่ 21 กันยายน
ต่อมาเมื่อใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่พวกยิวจะขึ้นปีใหม่
ประมาณวันที่ 6 กันยายน ชาวคริสเตียนในยุคกลางจะเริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม เมื่อมีการใช้
ปฏิทินแบบกรีกอเรียน ชาวคริสเตียนิกายโรมันคาทอลิกก็กลับมาขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม
คนอังกฤษ เชื้อสายแองโกลซักซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังเมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยม
ได้เป็นราชาธิราชแห่งเกาะอังกฤษ จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น